นมแม่ และปัญหาเกี่ยวกับการให้นมแม่
ความเดิม ตอนที่ 1 ติดตามได้ที่นี่ค่ะหลังจาก ที่ตัดสินใจได้แล้วว่า เราจำเป็นต้องทำสต๊อกนม (อันนี้สำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงานไปด้วย แม่ปูขออนุญาตแนะนำอย่างแรงว่า ควรทำสต๊อกนมค่ะ) และมีอุปกรณ์ครบแล้วก็เริ่มกันเลยค่ะ1. กำหนดรอบและระยะเวลาในการปั๊มนม อันนี้แม่ปูขอไม่กำหนดตายตัวว่าต้องตอนไหน ๆ กี่โมงเป๊ะ ๆ เพระาคุณแม่แต่ละคนก็มี lifestyle และความพร้อมที่แตกต่างกันในเรื่องของเวลา และลักษณะงาน แต่ข้อสำคัญคือ ต้องปั๊มอย่างสม่ำเสมอและมีวินัย โดยหลัก ๆ แล้ว ขอให้ปั๊มทุก ๆ 3 ชั่วโมง ถ้ามีความจำเป็นต้องปั๊มห่างกว่านี้ก็อย่าให้ห่างนานมากนัก เพื่อรักษาปริมาณน้ำนมค่ะ คิดว่าย ๆ ว่า ไหน ๆ ก็จ่ายค่าเครื่อ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
วันนี้ขอชวนแม่ ๆ มาทำสต๊อกนมแม่กันนะคะ ก่อนทำสต๊อกนมต้องถามตัวเองก่อนว่า อยากให้นมแม่ไปจนถึงเมื่อไร อันตัวเรานั้นมีความจำเป็นต้องทำไม๊ สองคำถามนี้เป็นคำถามเบื้องต้น เพราะมันจะนำไปสู่อุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบการทำสต๊อกนมแม่นะคะ ถ้าต้องการให้นมแม่ไปนาน ๆ ๆ ๆ นานที่สุด ก็ต้องมาองหาผู้ช่วยดี ๆ ที่ลงทุนแล้วคุ้ม ถ้าคิดว่าสำหรับฉัน 6 เดือนก็พอแล้ว ก็หาตัวช่วยที่ย่อมลงมาหน่อย ถ้าตัวฉันไม่มีความจำเป็นต้องทำสต๊อกนมใด ๆ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็น้อยลงไปอีกมาดูอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการทำสต๊อกนมกันนะคะ1. เครื่องปั๊มนม / หัดบีบมือ ขึ้นกับความสะดวก ความชำนาญ ระยะเวลาในการให้นมแม่ และทุนทรัพย์ค่ะ สำห..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
ยาประสระน้ำนม เป็นยาสมุนไพรไทยแผนโบราณ ทำมาจากสมุนไพรไทยหลาย ๆ ชนิดที่มีผลในการกระตุ้นการสร้างน้ำนม บ้างจึงเรียกว่ายาเพิ่มน้ำนม ยาประสระน้ำนมมีมากมายหลายยี่ห้อ ที่แตกต่างกันคือ ชื่อเรียกยา ตัวสมุนไพร ลักษณะเม็ดยา ปริมาณการทาน เนื่องจากนมแม่เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นเรื่องพื้นฐานที่พบได้ในทุกวัฒนธรรม ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ เราสามารถพบยาประสระน้ำนม (ยาเพิ่มน้ำนม) ในทุก ๆ ประเทศ โดยมาก็ใช้สมุนไพรท้องถิ่นมาผลิต ในประเทศไทย มียาที่ช่วยเพิ่มน้ำนมอยู่หลายตำรับ ที่ออกวางขายเป็นเรื่องเป็นราวก็มาก ดังนั้นขออนุญาตแนะนำวิธีการเลือกซื้อให้ปลอดภัยกับคุณแม่และลูกรัก1. มีทะเบียนยาชัดเจน ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
คำถามสำหรับวันนี้ ทำไมลูกท้องเสีย ถ่ายวันละหลายรอบเลยคะ เพราะนมแม่ใช่ไหมคะ คำตอบคือใช่ และไม่ใช่นะคะ ไม่ต้อง "งง" นะคะ คือต้องมาหานิยามของคำว่าท้องเสียกันก่อน ในผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ นี่ถ่ายวันละหลาย ๆ ครั้งเรียกว่าท้องเสีย แต่ในเด็กเนี่ยะ ไม่เกี่ยว ไม่ใช่ เพราะ ผู้ใหญ่ระบบต่าง ๆ ในร่างกายแข็งแรง เข้าที่ เข้าทางดีแล้ว การขับถ่ายวันละครั้งก็เป็นเรื่องปกติไป แต่ในเด็กระบบต่าง ๆ ยังอยู่ในระยะปรับตัว รวมทั้งระบบขับถ่ายด้วย ดังนั้นการถ่ายวันละหลาย ๆ ครั้ง จึงไม่ได้แปลว่าท้องเสีย แล้วอย่างไรเรียกว่าท้องเสีย ก็ต้องสังเกตุจากอาการของลูก ว่างอแง ร้องปวดท้องทรมาน และก็ต้องสังเกตุก้อนทองของลู..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
คุณแม่นักปั๊มมือใหม่หลายคนมีคำถามว่า เมื่อปั๊มนมเสร็จ ต้องล้างอะไหล่เครื่องปั๊มนม และบรรดาอุปกรณ์เสริมเครื่องปั๊มนมทุกครั้งหรือไม่ คำตอบก็คือ "ไม่จำเป็น" เพราะการปั๊มนมทุก ๆ 3 ชั่วโมงตามรอบ เป็นงานที่หนักเอาการอยู่แล้ว โดยเฉพาะหากคุณแม่ใช้เครื่องปั๊มนมแบบ หัวเดี่ยว เพราะการปั๊มนมจะต้องใช้เวลามากขึ้นเป็น 2 เท่าของการปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนมแบบสองเต้า การจะมาล้างทำความสะอาด จึงเป็นอะไรที่ยุ่งยาก ใช้เวลา พาลจะท้อจนเลิกปั๊มนมไปง่าย ๆ เพราะไม่ได้พักผ่อนวิธีการที่คุณแม่สามารถทำได้ เมื่อปั๊มนมเสร็จคือ เก็บอะไหล่เครื่องปั้มนม อุปกรณ์ต่าง ๆ (ยกเว้นสายปั๊ม) ลงในภาชนะมีฝาปิดสนิท และเก็บเข้าตู้เย..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
อีกคำถามถามบ่อยจากคุณแม่นักปั๊มนะคะ อาวุธพร้อม (เครื่องปั๊มนม ที่ปั๊มนม ถุงเเก็บนม นมแม่ พร้อมทุ๊กกกอย่าง) กำลังกาย กำลังใจพร้อม แล้วพอปํมออกมาแล้ว ต้องนำไปเดินทางเพื่อให้ลูกน้อยที่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน ต้องทำอย่างไร เครดิต : ขอบคุณเนื้อหาดี ๆ จากเวปศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย / FB กลุ่มนมแม่ สำหรับแม่ๆ ที่ต้องการขนย้ายนมแม่เวลาเดินทางไกลค่ะ มี 3 วิธี ด้วยกันวิธีแรก แพ็คแบบแห้ง รักษาอุณหภูมิได้ดีพอสมควร 4-5 ชม.เปิดมายังเป็นน้ำแข็ง ไม่ละลาย1. รองก้นและรอบๆ กล่องโฟมด้านในด้วยหนังสือพิมพ์พับหลายๆ ทบ (นสพ.จะช่วยรักษาอุณหภูมิให้เย็น)2. เอาถุงนมแม่ซึ่งแช่แข็งไว้เรียบร้อยแล้วใส่ถุงใบใหญ่..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
การบีบน้ำนมด้วยมือ ต้องอาศัยความชำนาญค่ะ คือเราต้องทำความรู้จักนมของตัวเอง จะว่างั้นก็ได้ ยิ่งบีบบ่อยจะยิ่งบีบเก่ง เต้าก็จะเกลี้ยงกว่าด้วย สำหรับแม่ป้ายแดง ถ้าปั๊มด้วยเครื่องปั๊มนม ไม่ออก ให้ลองบีบมือดูนะคะ รับรองน้ำนมออกง่ายกว่าปั๊มเครื่อง แถมไม่เจ็บหัวนมด้วยค่ะการเพิ่มน้ำนมด้วยการบีบมือ สามารถทำได้ มีหลายวิธีค่ะ 1. ลูกดูดจากเต้า 2. ใช้เครื่องปั๊ม (ไฟฟ้าหรือ manual) 3. ใช้มือบีบ การที่หัวนมโดนกระตุ้นจะทำให้ฮอร์โมนโปรแล็คตินหลั่ง (เจ้าฮอร์โมนตัวนี้จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนม คุณยายที่ให้หลานดูดนมแล้วน้ำนมไหล ก็เพราะเจ้าฮอร์โมนตัวนี้ค่ะ ยา motilium ก็ให้ผลข้างเคียงคล้ายโปรแล็คติน น้ำนมจึ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
สวัสดีค่ะ,สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณหลิวถามมาว่า พี่ปูมันมีอะไรบ่งบอกไม๊ว่านมแม่จะลดลงแล้วนะ เพราะคุณหลิวรู้สึกว่า น้ำนมคุณหลิวเริ่มลดลง ปั๊มได้ไม่เท่าเดิม แม่ปูเลยอธิบายไปพอเสร็จคุณหลิวหัวเราะยกใหญ่ ว่าจริงด้วยแฮะ จริง ๆ แล้วร่างกายเราไม่ได้ส่งสัญญาณอะไรมาบอกเราว่า จะลดกำลังการผลิตหรอกนะคะ เราต่างหากที่เป็นคนส่งสัญญาณให้ร่างกายลดการผลิตลงโดยไม่รู้ตัวพฤติกรรมต่อไปนี้ที่พวกเราหลายคนทำโดยไม่รู้ตัวว่าเป็นการส่งสัญญาณให้ร่างกายลดการผลิตค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ลดรอบการปั๊ม ดึงระยะปั๊มให้ห่างมากขึ้น ไม่ตื่นมาปั๊มตอนกลางคืน รอเต้าคัดค่อยปั๊ม พูดง่าย ๆ ก็คือ หย่อนวินัยในการปั๊มนั่นเอง แม่ปูไม่ได้กำลังบ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
7 ตัวการที่ทำให้การให้นมแม่ล้มเหลว1. คุณแม่ขาดความเชื่อมั่น ต้องยกเรื่องนี้มาเป็นเรื่องแรก ๆ เลย เพราะคุณแม่จำนวนมากที่เชื่ออย่างไม่ไตร่ตรอง หรือเชื่อแบบสนิทใจว่า ตนเองไม่สามารถให้นมลูกได้ ลองได้สะกดจิตตัวเองอย่างนี้แล้ว โอกาสล้มเหลวก็สูงเกินกว่า 70% ทางแก้ก็ง่าย ๆ เชื่อมั่นในตัวเอง เชื่อมั่นในคุณภาพของนมแม่ อย่าได้ท้อ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว ฉันใดก็ฉันนั้น นมแม่ไม่ใช่ว่าจะมาทันทีที่คลอดน้องเสร็จ 2. คนรอบข้างทำให้หวั่นไหว นี่เป็นสิ่งใกล้ตัวที่คุณแม่ต้องเจอทุกวัน ไม่ว่าจะจากคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย หรือแม้แต่ตัวคุณพ่อเอง ที่พอได้ยินเสียงเจ้าตัวเล็..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
หลังคลอดร่างกายและจิตใจของมารดาจะการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหลายอย่าง ทั้งความกังวล ความเครียด ความเหนื่อยล้าจากการคลอด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบกับน้ำนมแทบทั้งสิ้น ดังนั้นคุณแม่หลายคนอาจจะเริ่มกังวลหนักเข้าไปอีก ว่า ตนเองไม่มีน้ำนมให้ลูกทาน ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมกันนะคะ ช่วงเวลาน้ำนมทารกมารดาแรกเกิดร่างกายจะสร้าง colostum (น้ำนมเหลือง) ที่มีลักษณะเหลือง ข้นออกมาจำนวนหนึ่ง แต่จำนวนที่ไม่มากนี้เป็นสวนสำคัญที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโรคต่าง ๆ แก่ทารก หรือเรียกได้ว่าเป็นวัคซีนแรกเลยนะคะทารกโดยมากจะตื่นตัวในช่วงชั่วโม..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น