ความสัมพันธ์ระหว่าง BPA กับนมแม่และเครื่องปั๊มนม
หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินเรื่องของ BPA กันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะในระยะนี้ที่มีข่าวอึกทึกครึกโครม พากันตรวจสอบขวดนมของเจ้าตัวเล็กกันยกใหญ่ บางคนถึงกับต้องเปลี่ยนยกชุดกันเลยทีเดียว เจ้า BPA มีชื่อทางการว่า Bisphenol A (บิสพีนอล เอ) ซึ่งเป็นสารประกอบในพลาสติกประเภท Polycarbonate เช่น ขวดน้ำดื่มใสที่เราเห็นจนชินตานั่นเอง นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบในสารเคลือบผิวโลหะ (Epoxy Resin) ด้านในของกระป๋องสำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่มเพื่อป้องกันการเกิดปฏฺิกิริยาระหว่างแผ่นโลหะกับอาหาร จนทำให้เนื้อกระป๋องด้านในผุกร่อน อันตรายของเจ้า BPA ที่เรามักได้ยินกันเสมอ ๆ คือ เป็นสารก่อมะเร็ง แต่จริง ๆ แล้วหมอนี่ มีอันตรายมากกว่าที่คิดเยอะ เพราะมีผลทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วกว่าปกติ ก่อให้เกิดภาวะโรคหัวใจ เบาหวาน และโรคไตบางชนิดอีกด้วย เนื่องจากเจ้า BPA เป็นสารประกอบในกลุ่มสารรบกวนระบบสัญญาณการผลิตฮอร์โมนส์ของร่างกาย ผลการวิจัยของนักวิจัยจากสมาคมต่อมไร้มท่อในสหรัฐฯ พบว่า บีพีเอ มีผลต่อหัวใจของสตรี และทำลาย DNA ของหนูกลุ่มทดลองลงอย่างถาวร ขณะเดียวกันสถาบันสุขภาพของสหรัฐก็สรุปรายงานการวิจัยออกมาว่า บีพีเอ เป็นอันตรายต่อการพัฒนาต่อมลูกหมาก และสมอง รวมทั้งทำให้ทารกในครรภ์และเด็กโตมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป จากอันตรายที่ว่าเหล่านี้ ทำให้หลายประเทศออกกฏหมายห้ามการผลิต หรือใช้วัตถุดิบที่มีองค์ประกอบของ BPA ในการผลิตภาชนะทนอาหารสำหรับเด็ก โดยประเทศแคนาดา เป็นประเทศแรกที่ออกกฏนี้ และตามมาด้วยอีกหลาย ๆ ประเทศ รู้แล้วว่ามันอันตรายอย่างไร ก็คงอยากรู้ต่อว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าอุปกรณ์การทานอาหารสำหรับลูกน้อยของเราปลอดภัยหรือยัง ขวดนมที่มี BPA เป็นองค์ประกอบ จะมีลักษณะใส วาว ทนต่อการขีดข่วน และเจ้าสาร BPA อยู่เฉย ๆ มันก็ไม่ได้ออกมาอาละวาดนะคะ มันจะออกมาอาละวาด สร้างความอันตรายก็ต่อเมื่อได้รับความร้อน โดยบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท แต่ละยี่ห้อ ก็จะมีปริมาณสารที่รั่วออกมาปะปนกับนม หรือของเหลวที่บรรจุในภาชนะนั้น ๆ มากน้อย แตกต่างกันไปตามระดับความร้อนที่ได้รับและที่สำคัญคือ การรั่วซึมของสาร BPA นั้น ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับความเก่าใหม่ของขวด แปลว่า จะเก่า จะใหม่ อัตราเสี่ยงเท่าเทียมกันอย่างเสมอภาค ขึ้นกับปริมาณความร้อนที่ได้รับเท่านั้นที่จะทำให้ปริมาณสารนี้ออกมาแตกต่างกัน เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว คุณแม่หลายคนคงรักนมแม่มากขึ้นเยอะเลยนะคะ เพราะนมแม่บรรจุอยู่ในเต้า ไม่ต้องกังวลเรื่องขวดว่าจะมี BPA หรือเปล่า แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น คุณแม่ก็ต้องหลีกเลี่ยงเจ้าสารนี้ด้วยเพราะ you are what you eat! ค่ะ ว่าแล้วเรามาปั๊มนมกันเถอะ คว้าเครื่องปั๊มนมขึ้นมา ตั้งหน้าตั้งตาปั๊มกันต่อไป แม่ปู - MamyKiddy - 081 684 6528 www.mamykiddy.com ** mamykiddy.com สงวนลิขสิทธิ์ของเนื้อหาใน website ตามกฎหมาย ** ห้ามมิให้ผู้ใดลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดเผยแพร่ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
0 ความเห็นถึง "ความสัมพันธ์ระหว่าง BPA กับนมแม่และเครื่องปั๊มนม"
Note: โค้ด HTML จะไม่ถูกแปลง